SingEk

SingEk

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอน วันพุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2558 (ครั้งที่3)

สอนวิธีตกแต่ง Blogger ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ใส่นาฬิกา  เปลี่ยนสีตัวอักษรหัวเรื่อง เปลี่ยนพื้นหลัง ให้ดูสวยงานน่าสนใจมากขึ้นและผู้สอนให้กลับไปค้นคว้าหาข่าวเกี่ยวกับ บรรณจุภัณฑ์ของดีไซน์เนอร์ต่างประเทศแล้ว แปลสรุปบทความออกมา เพื่อนำเสนอในชั้นเรียน

การบ้าน
- หาข้อมูลการทำ visual analysis
- ศึกษา product ที่เป็นสปา แล้วทำ visaul analysis อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ของจังหวัดชัยนาทก็ได้ หรือของที่อื่นก็ได้
- ศึกษา การพับกระดาษ Orikami Packaging เพื่อใส่ผลิตภัณฑ์


Origami Packaging Box in a Box


Origami Packaging : Box in a Box




เป็นการพับกระดาษเพื่อห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ 

ดูคลิปวิดีโอขั้นตอนการพับกระดาษ


แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=v1i_NEykqnk





การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง (Product and Package Visual Analysis)

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
(Product and Package Visual Analysis)


โดย นาย สิงห์เอก งามพริ้ง
27 มกราคม 2558


ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้


กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน.jpg


ภาพที่ 1. ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ ออกแบบทัศนสื่อสาร หรือที่เรียกว่าออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design) นั้น ต้องใช้ ในการเริ่มต้นทำงานเสมอ โดยวิธีและการสังเกตุ คุณลักษณะรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ของสิ่ง ใดๆนั้นโดยตรง โดยไม่ใช้เครื่องมือ หรือ เครื่องช่วยใดๆมาประกอบ (Observation of the obvious, external features without the aid of an instrument) เป็นการประมวลสรุปในสิ่งที่ได้รับรู้ ได้มองเห็น ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการ ตรวจสอบหรือการบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของสิ่งที่มองเห็น(Visual Inspection) โดย ใช้ดุลพินิจ หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของผู้สังเกต(Observed) ได้รับรู้(Percieved) และแปลความ หมาย (Translated and Transfered) ในสิ่งที่รู้ที่เห็นออกมาได้เช่นใด วิธีการใด หรือด้วยสื่อใดนั่น


Product's Package Visual Analysis : Structure and Graphic Components
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น
ภาพวาดไม่มีชื่อ (3).jpg
       วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบ มีวิถีและวิธีการทำงาน ที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงา นของศิลปิน ในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไป ได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการ ใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงาม ที่ปรากฏ เห็น เป็นรูปลักษณ์ภายนอก อันเป็น ประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเภท ประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดง หลักฐาน หรือต้องมีสื่อแสดง ให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดง ทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้น ก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วม คิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน
ภาพที่ 2.ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นขอสบู่มังคุด ขมิ้นชัน
หมายเลข 1 คือ เทคนิคการปิดโครงสร้าง Seal or Encloseure Techni
หมายเลข 2 คือ ตัวผลิตภัณฑ์
หมายเลข 3 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ ในที่นี้คือวัสดุที่เป็นถุง PET
หมายเลข 4 คือ แผ่นสลากปิดบนตัวโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสาร
หมายเลข 5 คือ ข้อความการบ่งชี้ชนิด-ประเภทสินค้า
หมายเลข 6 คือ ข้อความแนะนำตัวสินค้า
หมายเลข 7 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า ( Logotype)
หมายเลข 8 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข 9 คือ คำโฆษณา- ความดีของสินค้า-คำเชิญชวน
หมายเลข 10 คือ ข้อมูลแจ้ง-บ่งชี้ประกอบสินค้า
หมายเลข 11 คือ สัญลักษณ์การรับรองความปลอดภัย-มาตรฐานการผลิต
หมายเลข 12 คือ ข้อความแจ้งวันที่ผลิต-วันหมดอายุ
หมายเลข 13 คือ ปริมาตร-น้ำหนักสินค้า
หมายเลข 14 คือ สถานที่จัดจำหน่ายตัวสินค้า
หมายเลข 15 คือ ข้อมูลสพรรคุณตัวสินค้า (เป็นภาษาอังกฤษ)


การศึกษาสินค้าคู่แข่ง
สินค้าของผู้ประกอบการ


1. S0362.jpg
2.Classifieds_Image2102553105919.jpg
3.cudvbi_001.jpg
4.S0312.jpg
5.S0567.jpg
6.S0353.jpg



------------------------------------------------------------------



Visual Analysis



Product's Package Visual Analysis : Structure and Graphic Components
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น



กรอบแนวคิดในการดำเนินงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์



วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

แปล-สรุปบทความ 3 เรื่อง

เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  1



แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 1

Ricola’s Herbal

บรรจุภัณฑ์สำหรับยาอม
เขียนโดย : JVM Studio
จาก : http://www.thedieline.com/blog/2013/4/8/ricolas-unwrap-your-voice-herbal-drops.html
แปลสรุปความโดย : นาย สิงห์เอก งามพริ้ง
รหัสนักศึกษา : 5511302985 กลุ่ม101
Contact E-mail :singekpc@gmail.com
Publish Blog : http://artd3301-singek.blogspot.com
รายงานวิชา Artd3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์


วันที่ส่ง 25 มกราคม 2558
302356_622435931117404_906426005_n.jpg
เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  2




บรรจุภัณฑ์สำหรับยาอม
ภาพใต้แนวคิด “Unwrap Your Voice”แสดงถึงใบหน้าบิดเบี้ยวของคนที่เจ็บคอ เรียกร้องให้เราบิดหรือแกะห่อลูกอมออกมา เน้นการปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค ผ่านตัวการ์ตูนหน้าตาบิดเบี้ยว และถ้าลองสังเกตดีๆ มีคนดังหลายคนอยู่บนบรรจุภัณฑ์นี้ด้วย
540686_622435937784070_8284714_n.jpg





--------------------------------------------------------------------------------



เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  3


แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 2
Doggie Dazzle


บรรจุภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ของสุนัขสุดที่รัก
เขียนโดย : Mathilde Solanet
จาก : http://www.beaneagle.be/packaging/doggie-dazzle
แปลสรุปความโดย : นาย สิงห์เอก งามพริ้ง
รหัสนักศึกษา : 5511302985 กลุ่ม101
Contact E-mail :singekpc@gmail.com
Publish Blog : http://artd3301-singek.blogspot.com
รายงานวิชา Artd3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์


วันที่ส่ง 25 มกราคม 2558

208827_607180812642916_207072475_n.jpg




เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  3




บรรจุภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ของสุนัขสุดที่รัก

Mathilde Solanet ได้รับรางวัล Gold Pentaward 2012 ภายใต้แนวคิด Doggie Dazzle ที่ใช้กราฟฟิกรูปสุนัขมาเป็นส่วนประกอบหลักของบรรจุภัณฑ์ ออกแบบได้เรียบง่ายและน่าสนใจมาก หน้าตาบรรจุภัณฑ์นี้คล้ายกับสุนัขแสนรักที่บ้านเลย
179066_607180832642914_1078974017_n.jpg392765_607180782642919_122654339_n.jpg




--------------------------------------------------------------------------------


เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  4

แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 3

Steamy Apple Pie On The Go

บรรจุภัณฑ์พาย
เขียนโดย : Hsien Jung Cheng & Bang Yan Cai
จาก : http://www.yankodesign.com/2013/03/19/steamy-apple-pie-on-the-go/
แปลสรุปความโดย : นาย สิงห์เอก งามพริ้ง
รหัสนักศึกษา : 5511302985 กลุ่ม101
Contact E-mail :singekpc@gmail.com
Publish Blog : http://artd3301-singek.blogspot.com


รายงานวิชา Artd3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์


วันที่ส่ง 25 มกราคม 2558


733771_607789159248748_1319745436_n.jpg




เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  5



บรรจุภัณฑ์พาย

บรรจุภัณฑ์พายเท่ห์ๆ ที่นอกจากจะสามารถทานพายได้อย่างง่ายดาย ไม่ร้อนมือ ยังสามารถระบายความร้อนให้พายเย็นเร็วขึ้นด้วย
562076_607789155915415_623699322_n.jpg







…………………………………………………………………………


เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  6




ภาคผนวด (สำเนาต้นเรื่องที่แปล)


แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 1


Ricola’s Herbal

บรรจุภัณฑ์สำหรับยาอม
จาก : http://www.thedieline.com/blog/2013/4/8/ricolas-unwrap-your-voice-herbal-drops.html

302356_622435931117404_906426005_n.jpg

The packaging was made more attractive by using illustrated faces of icons like Elvis Presley and others. This campaign is a must watch and I guarantee that after viewing it; sore throat or not, you would want to have one of these drops and experience the amazing consumption ritual






-----------------------------------------------------------------------


เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  7




คำแปลโดยตรงที่ใช้เครื่องมือแปลของ Google translate

ภาพใต้แนวคิด “Unwrap Your Voice”แสดงถึงใบหน้าบิดเบี้ยวของคนที่เจ็บคอ เรียกร้องให้เราบิดหรือแกะห่อลูกอมออกมา เน้นการปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค ผ่านตัวการ์ตูนหน้าตาบิดเบี้ยว และถ้าลองสังเกตดีๆ มีคนดังหลายคนอยู่บนบรรจุภัณฑ์นี้ด้วย





แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 2

Doggie Dazzle
บรรจุภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ของสุนัขสุดที่รัก
เขียนโดย : Mathilde Solanet

จาก : http://www.beaneagle.be/packaging/doggie-dazzle

208827_607180812642916_207072475_n.jpg





------------------------------------------------------------------


เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  8






“Doggie Dazzle”, a store for canine accessories. Through a simple graphic design, she extrapolates a series of packaging and supports for the different articles. Whether packing plastic toys in different sizes or clothing to protect the dog from rain, Mathilde SOLANET’s approach always has a humoristic touch.



คำแปลโดยตรงที่ใช้เครื่องมือแปลของ Google translate
Mathilde Solanet ได้รับรางวัล Gold Pentaward 2012 ภายใต้แนวคิด Doggie Dazzle ที่ใช้กราฟฟิกรูปสุนัขมาเป็นส่วนประกอบหลักของบรรจุภัณฑ์ ออกแบบได้เรียบง่ายและน่าสนใจมาก หน้าตาบรรจุภัณฑ์นี้คล้ายกับสุนัขแสนรักที่บ้านเลย



แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 3

Steamy Apple Pie On The Go


บรรจุภัณฑ์พาย
เขียนโดย : Hsien Jung Cheng & Bang Yan Cai
จาก : http://www.yankodesign.com/2013/03/19/steamy-apple-pie-on-the-go/



เอกสารงานแปล
แปลสรุปข่าวสาร หน้าที่  9




The kind of packaging redesign suggested with the UP is very convenient for the Pizza Pies that I buy from McDonalds. Where here it is intended for the fast food Apple Pie, the incisions in this package make it easy to handle and cool the pie while eating





คำแปลโดยตรงที่ใช้เครื่องมือแปลของ Google translate
บรรจุภัณฑ์พายเท่ห์ๆ ที่นอกจากจะสามารถทานพายได้อย่างง่ายดาย ไม่ร้อนมือ ยังสามารถระบายความร้อนให้พายเย็นเร็วขึ้นด้วย




…………………………………………………………………………

กลุ่มที่ 1 ARTD3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์

กลุ่มที่ 1
ARTD3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์

1.
asdasd.jpg

ความหมายของบรรจุภัณฑ์
งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
นาย นัทกฤษ นามพุก



-----------------------------------------------------------------------------------


2.
Juice-Packaging.jpg
ที่มาของรูปภาพhttp://wedesignpackaging.com/refreshing-juice-packaging-designs/

ความหมายของบรรจุภัณฑ์
ได้มีผู้ให้ความจำกัดความไว้มากมายดังนี้


1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)
3. Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
4. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด
5. Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์
6. Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
7. Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์
8. Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า


อ้างอิงจากhttp://www.mew6.com/composer/package/package_0.php


สรุป: การออกแบบบรรจุภัณฑ์หมายถึงกระบวนการคิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากวัสดุต่างและนำมาใช้สำหรับห่อหุ้ม ป้องกัน ลำเลียงจัดส่งและนำเสนอสินค้าตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต


นางสาว พิชชานันท์ สร้อยสิงห์


-----------------------------------------------------------------------------------



3.
574791_593947817299549_1053462964_n.jpg
ที่มา : www.thedieline.com


ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์


สินค้าจะสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ผลิตได้ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าที่อยู่ในสภาพดี กล่าวคือสินค้าไม่เสียหาย ไม่บูดเน่าเสีย และอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของสินค้านั้น ๆ บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่แรกที่สำคัญคือช่วยปกป้องสินค้าให้ปลอดภัยในระหว่างขนส่ง หน้าที่ต่อมาคือให้ข้อมูลของสินค้าเสมือนเป็นพนักงงานขาย ซึ่งจะพบหน้าที่นี้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายของชำ แม้แต่สินค้าอุตสาหกรรม ปั้มไฟฟ้า จะจำหน่ายได้ดี ถ้ามีบรรจุภัณฑ์ที่สะดุดตา การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะเป็นระบบการนำเสนอตัวบรรจุภัณฑ์เพื่อไปสู่วัตถุประสงค์หลักทั้ง 2 ด้าน คือ สินค้าปลอดภัยและส่งเสริมการขายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วยการออกแบบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ การออกแบบโครงสร้าง และการออกแบบกราฟฟิก โดยที่การออกแบบโครงสร้างจะเน้นคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ ส่วนการออกแบบกราฟฟิกจะสื่อความหมายด้วยภาพวาดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการขาย การออกแบบทั้ง 2 ส่วนจะเกื้อหนุนไปในทางเดียวกันเพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้านั้น ๆ น่าเสียดายที่บางครั้งเราจะพบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามสะดุดตาบนชั้นวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่สภาพของบรรจุภัณฑ์เสียหายเนื่องจากบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นไม่คำนึงถึงการออกแบบโครงสร้าง ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสินค้าด้วยลงไปในทางกลับกันสินค้าและบรรจุภัณฑ์บางชนิดมีสภาพดีแต่ผู้ซื้อไม่สนใจหยิบชม เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ขาดสีสันและขาดข้อมูลที่ผู้ซื้อสนใจ ดังนั้นการออกแบบทั้งทางด้านโครงสร้างและกราฟฟิกจึงมีบทบาทที่สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างคุณค่าของสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านความคุ้มครองและส่งเสริมการขายจะต้องให้ความสำคัญในการรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าหรือตลาดเป้าหมายเป็นลำดับแรก
สรุป: การออกแบบ ”บรรจุภัณฑ์” หมายถึง วัตถุภายนอกที่ทำหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง หรือ ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในให้ปลอดภัย สะดวกต่อการขนส่ง เอื้ออำนวยให้เกิดผลประโยชน์ในทางการค้าและการบริโภค
นาย สิงห์เอก  งามพริ้ง  5511302985 ARTD3301 สมาชิกกลุ่มที่ 1


-----------------------------------------------------------------------------------


4.
ARTD3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่มา:https://static1.squarespace.com/static/52536652e4b007332ef4ecf4/t/54c0a5c4e4b0aa857b26a309/14
21911494911/?format=750


ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษอีกอย่างว่า “Package” ทุกคนคงคิดถึงรูปลักษณะของกล่องใส่ของหรือบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ่มของต่างๆ โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบ ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ รวมทั้งภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ จากแหล่งผู้ผลิต ไปยังแหล่งผู้บริโภค เพื่อเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกัน และรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพเดิม ตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกับเมื่อแรกผลิต นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่า หีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิต
คำว่าบรรจุภัณฑ์จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าต่างๆ ในการจัดส่งจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อและผู้บริโภคโดยใช้ต้นทุนที่เหมาะสมแก่สินค้านั้นๆองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่ผู้ผลิตควรคำนึงถึง เนื่องจากแพ็กเกจเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคจะเห็นเป็นอันดับแรกหากแพ็จเกจสะดุดตาไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ รูปทรงต่างๆหรือสีสันจะทำให้การตัดสินใจของผู้บริโภคนั้นง่ายยิ่งขึ้น


นางสาว ปาณิสรา หนูหีต รหัสประจำตัว 5511300096 กลุ่มที่ 1




ความหมายกาออกแบบบรรจุภัณฑ์
          สินค้าทุกอย่างที่ผลิตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุตสาหกรรมหรือสินค้างานฝีมือ เช่น ผลิตภัณฑ์โอทอป ต้องการการปกป้องคุ้มครอง ในระหว่างการเดินทางจากมือผู้ผลิตไปยังมือผู้บริโภค ซึ่ง “บรรจุภัณฑ์” เป็นผู้ทำหน้าที่นั้น คือปกป้องคุ้มครองสินค้า ไม่ให้เกิดความเสียหาย จากบรรยากาศ สภาพการขนส่ง การปนเปื้อน ฯลฯ ในระหว่างการขนส่งจากผู้ผลิตไปสู่มือผู้บริโภค นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าแก่ผู้บริโภค โดยผู้บริโภคสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบ ประโยชน์ต่างๆ หรือวิธีใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้จากข้อความที่พิมพ์อยู่บนบรรจุภัณฑ์
ส่วนประเภทของบรรจุภัณฑ์นั้น สามารถแยกออกได้ด้วยวัสดุที่นำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์นั้นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากกระดาษ, บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติก, บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้ว, บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากโลหะต่างๆ เช่น อลูมิเนียมฟลอยด์ และบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ เช่น เข่ง กล่องไม้ ลังไม้ ซึ่งยังใผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมหนักๆ อยู่ แต่ในผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ใช้กันมากมักจะเป็นกระดาษ ฟิล์มพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติกต่างๆ ที่ใช้ใส่อาหาร นม น้ำดื่ม ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป
นาย เกียรติศักดิ์ มานะกิจ


บรรจุภัณฑ์กระดาษ




บรรจุภัณฑ์กระดาษ

กระดาษมีหลายชนิด ผลิตมาจากเยื่อกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกันตามความเหนียว ความทนทานต่อการฉีกขาด ดึงขาด ดันทะลุ สามารถตัด ดัด พับ งอ ได้ง่าย สามารถออกแบบได้มากแบบ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีราคาถูกที่สุดและน้ำหนักเบาที่สุด โดยทั่วไปกระดาษจะยอมให้น้ำและก๊าซซึมผ่านได้ดี ไม่สามารถป้องกันความชื้น เสียความแข็งแรงเมื่อถูกน้ำหรืออยู่ในสภาวะที่เปียกชื้นมีความคงรูป พิมพ์ได้งดงาม และสามารถใช้หมุนเวียน (Recycle) ได้จึงไม่ก่อปัญหามลภาวะสามารถทำเป็นหีบห่อได้มากมาย ตั้งแต่ถุงชนิดต่าง ๆ กล่องกระดาษ ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดมีความเหมาะสมกับการใช้งานแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสินค้าและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นคุณสมบัติของกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้ธรรมดาจึงได้รับการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพขึ้น โดยการผนึกหรือเคลือบเข้ากับวัสดุอื่น ๆ เพื่อให้สร้างสรรค์เป็นโครงสร้างใหม่ของบรรจุภัณฑ์ และทำหน้าที่บรรจุห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ได้หลายประเภทขึ้น เช่น กระดาษเคลือบฟิล์มพลาสติก (Plastic Coated Paper) กระดาษเคลือบขี้ผึ้ง (Wax Laminated Paper) กระดาษทนน้ำมัน (Greaseproof Paper) เป็นต้น

ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษที่ปรากฏอยู่ในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป มี 8 รูปแบบ ดังนี้ คือ





1. ซองกระดาษ (Paper Envelope)

ใช้บรรจุสินค้าต่าง ๆ เช่น ใบเลื่อย หัวสว่าน ยาเม็ด เมล็ดพืช จดหมาย ฯลฯ การเลือกใช้ขนาดและชนิดของซองขึ้นกับชนิดของสินค้าและความแน่นหนาที่ต้องการกระดาษที่ใช้ทำซองต้องพิจารณาถึงความคุ้มครอง รูปร่าง และราคาเป็นหลัก





2. ถุงกระดาษ (Paper Bag)

มีทั้งแบบแบนราบ ( ใช้ใส่อาหารชิ้นเล็ก ๆ ที่มีน้ำหนักเบา ) แบบมีขยายข้างและก้น ( ใช้บรรจุสินค้าที่มีปริมาณมาก เช่น แป้ง คุกกี้ ข้าวสาร ฯลฯ หรือใช้บุเป็นถุงในกล่องกระดาษแข็ง ) และแบบผนึก 4 ด้าน บรรจุสินค้าประเภทเครื่องเทศ คุณสมบัติของกระดาษที่ใช้ขึ้นกับการใช้งานเป็นหลัก กล่าวคือ สินค้าที่มีน้ำหนักมากควรใช้กระดาษเหนียวซึ่งมี ค่าของการต้านแรงดันทะลุ และการต้านแรงดึง ขาด อยู่ในเกณฑ์สูง หากสินค้ามีความชื้นสูงหรือเก็บในสภาวะเปียกชื้น กระดาษที่มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ ๆ เช่น กระดาษเคลือบไข กระดาษเคลือบพลาสติก เป็นต้น





3. ถุงกระดาษหลายชั้น (Multiwall Paper Sack)

สำหรับขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม สินค้าที่นิยมคือ ปูนซีเมนต์ อาหารสัตว์ สารเคมี เม็ดพลาสติก ถุงประเภทนี้มีทั้งแบบปากเปิด และแบบมีลิ้น แต่ละแบบอาจจะมีส่วนขยายข้างด้วยก็ได้ วัสดุที่ใช้ทำจากกระดาษเหนียวที่ทำจากเยื่อเส้นใยยาว เพื่อให้มีความเหนียวสูง หากต้องการเพิ่มคุณสมบัติในด้านป้องกันความชื้นก็อาจเคลือบด้วยพลาสติก หรือยางมะตอยอีกชั้นหนึ่งวัสดุที่ใช้ทำถุงและซองกระดาษ ส่วนใหญ่นิยมใช้กระดาษคราฟท์ (Kraft) ซึ่งมีความหนาบางนำมาซ้อนเป็นผนังหลายชั้น (Multiwall Bag) หรือเคลือบผิวแตกต่างกันไปตามหน้าที่ใช้สอย เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมากสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องอุปโภคบริโภคในหน่วยขายแบบปลีกย่อยซึ่งจัดได้ว่าเป็น Individual package อีกแบบหนึ่ง ที่มีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นสื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ที่แสดงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้ดีอีกด้วย





4. เยื่อกระดาษขึ้นรูป (Moulded Pulp Container) มีทั้งชนิดที่ทำจากเยื่อบริสุทธิ์ซึ่งใช้บรรจุอาหารสำเร็จรูปและอาหารที่เข้าตู้อบไมโครเวฟได้ และชนิดที่ทำจากเยื่อเศษกระดาษซึ่งใช้บรรจุ ไข่ ผัก ผลไม้สด และทำเป็นวัสดุกันกระแทก การเลือกใช้ต้องคำนึงถึงชนิดของผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุเป็นสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค





5. กระป๋องกระดาษ (Paper/Composite Can)

เป็นบรรจุภัณฑ์รูปทรงกระบอกที่ได้จากการพันกระดาษทับกันหลาย ๆ ชั้น พันแบบเกลียวหรือแบบแนวตรง ถ้าใช้กระดาษเหนียวแต่เพียงอย่างเดียวจะเรียกว่า Paper Can นิยมใช้บรรจุของแห้ง แต่ถ้าใช้วัสดุร่วมระหว่าง กระดาษเหนียว / อลูมิเนียมฟอยล์ / พลาสติก จะเรียกว่า Compostie Can ซึ่งมักจะบรรจุอาหารประเภทขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ ฝากระป๋องมักเป็นโลหะหรือพลาสติกบางครั้งจะใช้ฝาแบบมีห่วงเปิดง่าย (Easy Opening End) ก็ได้ การเลือกใช้ต้องพิจารณาคุณภาพของตะเข็บระหว่างตัวกระป๋องฝาและรอยต่อของการพัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการรั่วซึม





6. ถังกระดาษ (Fibre Drum)

มีลักษณะเช่นเดียวกับกระป๋องกระดาษ แต่มีขนาดใหญ่ ใช้เพื่อการขนส่ง สินค้าที่นิยมบรรจุคือ สารเคมี เม็ดพลาสติก ฯลฯ การเลือกใช้ต้องคำนึงความแข็งแรงเมื่อเรียงซ้อนเป็นหลักโดยการทดสอบค่าของการต้านแรงกด





7. กล่องกระดาษแข็ง (Paperboare Box)

เป็นบรรจภัณฑ์ขายปลีกที่ได้รับความนิยมสูงสุดสามารถทำจากกระดาษแข็งได้หลายชนิด อาทิ กระดาษไม่เคลือบ ( กระดาษขาว - เทากระดาษเคลือบ กระดาษการ์ด กระดาษอาร์ตมัน กระดาษฮาร์ตบอร์ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเคลือบวัสดุอื่น เช่นวานิช พลาสติก ไข เพื่อปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น รูปแบบของกล่องกระดาษแข็งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กล่องแบบพับได้ (Folding Carton) หรือ (Cardboard) กล่องแบบคงรูป (Set-Up Box) ส่วนกระดาษแข็งที่ใช้ทำกล่องมี 2 ประเภทดังนี้

1) กระดาษกล่องขาวไม่เคลือบ

กระดาษชนิดนี้คล้ายกับชนิดเคลือบแต่เนื้อหยาบกว่า สีขาวของกระดาษไม่สม่ำเสมอ แต่ราคาถูกกว่า ต้องพิมพ์ด้วยระบบธรรมดา เช่น กล่องใส่รอง เท้า กล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์ เป็นต้น

2) กระดาษกล่องขาวเคลือบ

กระดาษชนิดนี้ นิยมใช้ในการบรรจุสินค้าอุปโภคและบริโภคกันมากเพราะสามารถพิมพ์ระบบออฟเซ็ทสอดสีได้หลายสีสวยงาม และทำให้สินค้าที่บรรจุภายในกล่องดูมีคุณค่าขึ้น มีขายตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป เรียกอีกชื่อว่ากระดาษแข็งเทา - ขาว ในการทำกล่องบรรจุผลิตกัณฑ์อาหารนิยมใช้กระดาษชนิดนี้เพราะหาซื้อง่าย

การเลือกใช้กล่องกล่องกระดาษแข็ง ต้องพิจารณาคุณสมบัติที่เกี่ยวกับการใช้งานเป็นหลัก เช่น ความชื้น การต้านแรงดันทะลุ ความสามารถในการรับน้ำหนักได้ประมาณ 2- 3 ปอนด์ แล้วแต่ขนาดและความหนาของกระดาษ ความเรียบของผิวกระดาษ ความหนา ความขาว สว่าง สามารถพิมพ์สีสรรได้ดี คงทนต่อการโค้งงอ สามารถพับเป็นแผ่นแบนได้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บและขนส่งมีขนาดมากามายให้เลือกได้ตามต้องการ ง่ายที่จะตัด เจาะหรือบิด มีราคาถูก ทั้งวัสดุและกรรมวิธีการผลิตในการออกแบบกล่องกระดาษแข็งการเลือกขนาดของกระดาษและแบบของกล่องจะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าและความต้องการของตลาด การตั้งวางต้องคงตัว แข็งแรง ให้ความสวยงามเมื่อตั้งวางเป็นกลุ่ม ง่ายแก่การหยิบและถือ กล่องที่นักอาจมีหูหิ้วก็ได้ ฯลฯ




8. กล่องกระดาษลูกฟูก (Corrugated Fibreboard Box)

เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีบทบาทและปริมาณการใช้สูงสุด กล่องกระดาษลูกฟูกมีน้ำหนักเบา สามารถออกแบบให้มีขนาดรูปทรงและมีความแข็งแรงได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถพิมพ์ข้อความ หรือรูปภาพบนกล่องให้สวยงามเพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อและเพื่อแจ้งข้อมูลสินค้าได้อีกด้วย

โดยทั่วไปกล่องกระดาษลูกฟูกจะทำหน้าที่เพื่อการขนส่ง แต่สามารถออกแบบเพื่อการขายปลีกได้ โครงสร้างของกล่องกระดาษลูกฟูกขึ้นกับจำนวนแผ่นกระดาษลูกฟูก ส่วนประกอบของกระดาษ ชนิดของลอน รูปแบบของกล่อง ขนาดของกล่อง รอยต่อของกล่องและการปิดฝากล่อง การออกแบบต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสินค้าและสภาพการใช้งาน หากสินค้าเป็นประเภทที่สามารถรับน้ำหนักกดทับได้ ( อาหารกระป๋อง ขวดแก้ว ฯลฯ ) การกำหนดคุณภาพของกล่องควรยึดค่าการต้านแรงดันทะลุเป็นหลัก แต่ถ้าสินค้าไม่สามารถรับน้ำหนักกดทับได้หรือรับได้เพียงเล็กน้อย เช่น ผัก ผลไม้สด อาหารบรรจุในขวดหรือถุงพลาสติก ฯลฯ ก็ควรกำหนดคุณภาพของกล่องด้วยค่าของการต้านแรงกดของกล่อง โดยพิจารณาจากสภาพการลำเลียงขนส่งและเก็บรักษาควบคู่กันไป

ปัจจุบันนิยมใช้กล่องกระดาษลูกฟูกบรรจุผลิตผลทางการเกษตร เช่น ผักและ ผลไม้สดได้เริ่มมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องบรรจุผลไม้สดเพื่อการส่งออก เพื่อให้เหมาะสมกับผักและผลไม้แต่ละชนิด เช่น กล่องบรรจุมะม่วง มะละกอ ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ฯลฯ ทำให้สะดวกแก่การลำเลียง ขนส่ง การเก็บในคลังสินค้า การรักษาคุณภาพสินค้า และความสวยงามเมื่อวางขาย ทั้งในซุปเปอร์มาร์เก็ตและตลาดทั่วไป ทำให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาดต่างประเทศมากขึ้นอย่างรวดเร็วกระดาษลูกฟูกเป็นกระดาษที่ประกอบด้วยแผ่นเรียบ 2 ด้านติดกาวประกบไว้กับกระดาษลูกฟูก (Corrugated Paper) จะเป็นชั้นเดียว 2 ชั้น หรือ 3 ชั้นก็ได้ คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปจะคล้ายกับกล่องกระดาษแข็ง คือ ราคาถูก ทำรูปร่างต่าง ๆ ได้ รับน้ำหนักได้มากกว่ากล่องกระดาษแข็ง สามารถพิมพ์สีสรรได้ แต่มักจะพิมพ์ 2 สีเพื่อความประหยัด

กล่องกระดาษลูกฟูก ( ตามมาตรฐานของ สมอ . เลขที่ มอก . 321-2522) ได้นิยามคำต่าง ๆ ไว้ดังนี้

1. กระดาษทำลูกฟูก (Corrugating Medium) หมายถึง กระดาษที่นำมาใช้ทำเป็นลอนเพื่อประกอบเป็นแกนกลางของแผ่นลูกฟูก

2. กระดาษลูกฟูก หมายถึง กระดาษที่ได้นำมาขึ้นลอนเป็นลูกฟูกแล้ว

3. แผ่นลูกฟูก (Corrugated Board) หมายถึง กระดาษที่มีโครงสร้างประกอบด้วยกระดาษแผ่นเรียบ สำหรับทำผิวกล่องอย่างน้อย 2 แผ่น ประกบกับกระดาษลูกฟูกอย่างน้อย 1 แผ่น สำหรับนำไปใช้ในการทำกล่อง
กระดาษ

แหล่งของกระดาษที่สามารถนำไปหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ที่สำคัญคือ หนังสือ - พิมพ์เก่า กล่องกระดาษแข็ง และกระดาษลูกฟูก กระดาษพิมพ์เขียนทั่วไป และเศษกระดาษจากโรงงานผลิตกระดาษ หรือกล่องกระดาษ กระดาษเหล่านี้ต้องทิ้งแยกออกจากขยะทั่วไปและต้องมีผู้รับผิดชอบในการรวบรวมเพื่อส่งกลับไปยังโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษใช้แล้วมักจะต้องมีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดกาว และหมึกพิมพ์ออกไป ทำให้ผลได้ (Yield) ลดลงร้อยละ15 – 40 นอกจากนี้การตีเยื่อจากกระดาษเก่า จะทำให้เยื่อจากกระดาษเก่านี้สามารถลดมลภาวะทางน้ำได้ถึงร้อยละ 35 และมลภาวะทางอากาศได้ร้อยละ 74

การใช้ประโยชน์จากเยื่อกระดาษเก่า

1. ผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ โดยจะใช้เยื่อเก่าทั้งหมดหรือผสมเยื่อบริสุทธิ์บ้าง ขึ้นกับความแข็งแรงที่ต้องการ

2. ผลิตกระดาษซับน้ำหรือหมึก (Absorbent) จะได้คุณภาพดีกว่าการใช้เยื่อบริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังใช้ผลิตกระดาษทิชชู และกระดาษเช็ดหน้าด้วย

3. ผลิตภาชนะบรรจุประเภท moulded pulp เช่น กล่องไข่ ถาดรองผลไม้ แผ่นกั้นภายในกล่อง เป็นต้น

4. ผลิตกระดาษแข็งและกระดาษลูกฟูก เยื่อกระดาษเก่าจะมาใช้ผลิตกระดาษทั้งสองนี้มากที่สุด โดยจะใช้ชั้นของเยื่อกระดาษเก่าอยู่ด้านในหรืออาจผสมโดยตรงกับเยื่อบริสุทธิ์
ข้อจำกัดของการหมุนเวียนกระดาษเก่ามาใช้ใหม่

1. การแยกกระดาษและเก็บรวบรวม ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนโดยส่วนรวมจึงต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

2. ความคุ้มทุน ต้นทุนการผลิตเยื่อกระดาษบริสุทธิ์บางครั้งต่ำกว่าเยื่อกระดาษใช้แล้วทำให้ไม่มีผู้สนใจลงทุนในธุรกิจนี้ นอกจากนี้ความไม่แน่นอนของปริมาณวัตถุดิบ

ทำให้การบริหารโรงงานทำได้ลำบาก

3. สิ่งเจือปน เช่น กาวที่ไม่ละลายน้ำ ลวดเหล็ก ยางรัด พลาสติก และสารแต่งเติมบางประเภท สารเหล่านี้จะทำให้การสกัดเยื่อจากกระดาษเก่ายุ่งยากมากยิ่งขึ้น ทำให้กระดาษที่จำนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ต้องผ่านการคัดเลือกให้มีสารเจือปนเหล่านี้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ภาชนะบรรจุสำหรับผู้บริโภคทั่วไปจึงไม่นิยมนำมาสกัดเยื่อ เนื่องจากภาชนะบรรจุเหล่านั้นมักจะต้องมีการเคลือบพลาสติกใช้กาวกันน้ำ หรือแถบกาวต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ที่สุด


การทดสอบกระดาษและภาชนะบรรจุกระดาษ

1. การทดสอบน้ำหนักมาตรฐาน (Basic Weight)

เพื่อกำหนดเกณฑ์สำหรับการซื้อขายเนื่องจากค่าน้ำหนักมาตรฐานของกระดาษชนิดหนึ่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงของกระดาษนั้นๆ นำกระดาษตัวอย่างมาตัดขนาดให้มีพื้นที่เหมาะสม เช่น 10 ด 10 ตารางเซนติเมตร นำไปชั่งน้ำหนักอย่างละเอียด แสดงค่าน้ำหนักมาตรฐานเป็นน้ำหนักต่อพื้นที่ เช่น กรัมต่อตารางเมตร หรือปอนด์ต่อรีม (Pound per Ream) 1 รีม (U.S. Ream) มีค่าเท่ากับกระดาษขนาด 24 ด 36 ตารางนิ้ว จำนวน 500 แผ่น

2. การทดสอบความหนา (Thickness)

นิยมใช้ตรวจคุณภาพของกระดาษวัสดุอ่อนตัวทั่วไปและภาชนะบรรจุเกือบทุกประเภท เป็นวิธีการทดสอบที่รวดเร็วและทำได้ง่าย นิยมใช้เครื่องวัดที่มีความละเอียดและแม่นยำสูง เช่น Dial Type micrometer หน่วยความหนาที่ใช้ทั่วไป เช่น มิลลิเมตร ไมครอน หรือนิ้ว เป็นต้น และหน่วยที่ใช้เฉพาะวัสดุ เช่น point สำหรับกระดาษ (1 point = 1/1000 นิ้ว ) mil (1 mil = 25 micron) และ gauge (100 gauge = 1 mil) สำหรับฟิล์มพลาสติกหรือวัสดุอ่อนตัวหลายชั้น

3. การทดสอบความต้านทานต่อแรงฉีกขาด (Tear Resistance)

เป็นการทดสอบค่างานเฉลี่ยที่ใช้ในการฉีกกระดาษที่มีรอยบากไว้แล้ว มีหน่วยเป็นกรัมแรง ด เมตรหรือนิวตัน ด เมตร (gram-force ด meter หรือ Newton ด meter เขียนย่อ gf.m หรือ N.m) การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมคุณภาพของกระดาษ ถุงกระดาษและกล่องกระดาษแข็ง

4. การทดสอบความต้านทานต่อแรงดันทะลุ (Bursting Strength) เป็นการทดสอบความสามารถของกระดาษหรือแผ่นลูกฟูกที่จะต้านทานความดันที่เพิ่มขึ้นในอัตราคงที่จนกระทั่งตัวอย่างทดสอบฉีกขาด มีหน่วยวัดเป็นกิโลปาสคาล (kPa) หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (kg/cm ) นิยมใช้ทดสอบคุณภาพของกระดาษ กระดาษแข็งหรือแผ่นลูกฟูกที่นำมาขึ้นรูปเป็นภาชนะ เช่น กล่อง ถัง เป็นต้น

5. การทดสอบความต้านทานต่อแรงดึงขาด (Tensile Strength)

และการยึดตัว (Elongation)แผ่นตัวอย่างทดสอบจะถูกตรึงระหว่างคีมหนีบ 2 ตัว โดยที่ครัมหนีบตัวหนึ่งจะเคลื่อนที่เพื่อดึงแผ่นตัวอย่างจนกระทั่งขาด บันทึกแรงที่ใช้และค่าการยึดตัวของกระดาษขณะขาด ค่าความต้านทานต่อแรงดึงขาดจะรายงานเป็นค่าแรงต่อพื้นที่หน้าตัดของแผ่นตัวอย่าง หรือแรงต่อความกว้างของแผ่นตัวอย่าง ส่วนการยึดตัวจะรายงานเป็นค่าร้อยละ

6. การทดสอบหาความชื้น (Moisture Content)

โดยวิธีการอบแผ่นตัวอย่างที่ทราบน้ำหนักแน่นอนในเตาอบที่ 105 c เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทำให้เย็นในเดชิกเคเตอร์ นำมาชั่งน้ำหนักใหม่ ผลต่างของน้ำ - หนักที่ชั่งได้คือ ปริมาณความชื้นในตัวอย่าง นิยมรายงานค่าเป็นร้อยละ การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อกระดาษแข็งและกระดาษลูกฟูกที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นภาชนะบรรจุ


7. การทดสอบการดูดซึมน้ำ (Water Absorption)

เป็นการทดสอบ ความสามารถของกระดาษต่อการดูดซึมน้ำที่สัมผัสภายในระยะเวลาที่กำหนด มีค่าเป็นน้ำหนักน้ำที่กระดาษดูดซึมไว้ต่อพื้นที่สัมผัสกับน้ำ การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อการพิมพ์ ( การดูดซึมหมึก ) การทากาว การทนทานต่อสภาวะแวดล้อมขณะขนส่ง เช่น การเปียกฝน

8. การทดสอบการต้านทานต่อไขมัน (Turpentine Test)

เป็นการทดสอบ ความสามารถของกระดาษในการต้านทานการซึมผ่านของไขมัน โดยจะรายงานเป็นค่าของเวลาที่ปรากฎรอยไขมันบนแผ่นตัวอย่างด้านตรงข้ามกับด้านที่สัมผัสกับไข - มัน




ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.mew6.com/composer/package/package_20.php




…………………………………………………………………………………………………...