SingEk

SingEk

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง (Product and Package Visual Analysis)

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
(Product and Package Visual Analysis)


โดย นาย สิงห์เอก งามพริ้ง
27 มกราคม 2558


ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้


กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน.jpg


ภาพที่ 1. ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ ออกแบบทัศนสื่อสาร หรือที่เรียกว่าออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design) นั้น ต้องใช้ ในการเริ่มต้นทำงานเสมอ โดยวิธีและการสังเกตุ คุณลักษณะรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ของสิ่ง ใดๆนั้นโดยตรง โดยไม่ใช้เครื่องมือ หรือ เครื่องช่วยใดๆมาประกอบ (Observation of the obvious, external features without the aid of an instrument) เป็นการประมวลสรุปในสิ่งที่ได้รับรู้ ได้มองเห็น ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการ ตรวจสอบหรือการบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของสิ่งที่มองเห็น(Visual Inspection) โดย ใช้ดุลพินิจ หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของผู้สังเกต(Observed) ได้รับรู้(Percieved) และแปลความ หมาย (Translated and Transfered) ในสิ่งที่รู้ที่เห็นออกมาได้เช่นใด วิธีการใด หรือด้วยสื่อใดนั่น


Product's Package Visual Analysis : Structure and Graphic Components
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น
ภาพวาดไม่มีชื่อ (3).jpg
       วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบ มีวิถีและวิธีการทำงาน ที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงา นของศิลปิน ในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไป ได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการ ใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงาม ที่ปรากฏ เห็น เป็นรูปลักษณ์ภายนอก อันเป็น ประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเภท ประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดง หลักฐาน หรือต้องมีสื่อแสดง ให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดง ทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้น ก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วม คิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน
ภาพที่ 2.ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นขอสบู่มังคุด ขมิ้นชัน
หมายเลข 1 คือ เทคนิคการปิดโครงสร้าง Seal or Encloseure Techni
หมายเลข 2 คือ ตัวผลิตภัณฑ์
หมายเลข 3 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ ในที่นี้คือวัสดุที่เป็นถุง PET
หมายเลข 4 คือ แผ่นสลากปิดบนตัวโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสาร
หมายเลข 5 คือ ข้อความการบ่งชี้ชนิด-ประเภทสินค้า
หมายเลข 6 คือ ข้อความแนะนำตัวสินค้า
หมายเลข 7 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า ( Logotype)
หมายเลข 8 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข 9 คือ คำโฆษณา- ความดีของสินค้า-คำเชิญชวน
หมายเลข 10 คือ ข้อมูลแจ้ง-บ่งชี้ประกอบสินค้า
หมายเลข 11 คือ สัญลักษณ์การรับรองความปลอดภัย-มาตรฐานการผลิต
หมายเลข 12 คือ ข้อความแจ้งวันที่ผลิต-วันหมดอายุ
หมายเลข 13 คือ ปริมาตร-น้ำหนักสินค้า
หมายเลข 14 คือ สถานที่จัดจำหน่ายตัวสินค้า
หมายเลข 15 คือ ข้อมูลสพรรคุณตัวสินค้า (เป็นภาษาอังกฤษ)


การศึกษาสินค้าคู่แข่ง
สินค้าของผู้ประกอบการ


1. S0362.jpg
2.Classifieds_Image2102553105919.jpg
3.cudvbi_001.jpg
4.S0312.jpg
5.S0567.jpg
6.S0353.jpg



------------------------------------------------------------------



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น